Author Archives: Aum

ทำความรู้จักกับ “บันไดคลีท”

บันไดจักรยาน เป็นหนึ่งในสามจุดสัมผัสหลัก (Contact Point) ระหว่างผู้ปั่นและจักรยาน เป็นส่วนประกอบของจักรยานที่ทำหน้าที่รับแรงถีบจากเท้าเพื่อส่งแรงต่อไปยังชุดขับเคลื่อนส่วนอื่น เพื่อขับเคลื่อนล้อจักรยานไปข้างหน้า สามจุดสัมผัสระหว่างผู้ปั่นและจักรยาน (บันได / เท้า, เบาะ / ก้น, แฮนด์ / มือ)   ทำความรู้จักกับบันไดคลีท (Clipless Pedal)  บันไดคลีท หรือ Clipless Pedal คือประเภทของบันไดจักรยานแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อ ล็อคเท้าของผุ้ปั่นกับบันไดขณะปั่น หลักการทำงานของบันไดคลีทเสือหมอบและเสือภูเขามีลักษณะที่คล้ายกันคือ “ทำหน้าที่ล็อคแผ่นคลีทที่ติดกับรองเท้าเข้ากับบันได”    ประเภทของบันไดคลีท บันไดคลีทเสือหมอบ  บันไดคลีทเสือภูเขา บันได Touring (บันไดกระเทย) ด้านหนึ่งรองรับรองเท้าคลีท อีกด้านหนึ่งรองรับรองเท้าที่ไม่มีคลีทเหมือนกับบันได Flat ทำไมต้องใช้บันไดคลีท? 1. “ประสิทธิภาพ” คือประโยชน์ที่นักปั่นจะได้จากบันไดคลีท โดยปกติแล้ว motion ของการออกแรงถีบบันไดจักรยานจะเป็นแรง “กด” จากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadricept) ซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นบันไดคลีทแล้ว นอกจากแรงกด ผู้ปั่นสามารถใช้งานกล้ามเนื้อส่วนอื่น เช่น ก้น […]

ทำ Bike Fitting แล้วปั่นสนุกขึ้นจริงหรือไม่?

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “การทำ Fitting คือการลงทุนในจักรยานที่คุ้มค่าที่สุด” หรืออาจจะได้ยินว่า “ถ้าไม่ได้ปั่นจริงจัง ไม่ต้องไป Fitting หรอกเปลืองเปล่าๆ ปรับเอาเองก็ได้” การ Fitting มีความจำเป็นจริงหรือ? จะมีส่วนช่วยอย่างไร? วันนี้เราจะมาชวนคุยกันว่า “การทำ Bike Fitting ทำให้ปั่นสนุกขึ้นอย่างไร?” เหตุผลที่ทำ Bike Fitting แล้วปั่นสนุกขึ้น 1. เริ่มต้นอย่างถูกวิธี ไม่มีเสียเวลา เปรียบกับการตีกอล์ฟ ถ้าคุณซื้อไม้กอล์ฟแล้วไปลองฝึกตีโดยไม่มีหลักการ คุณอาจจะตีได้ แต่คุณอาจจะไม่รู้ว่าวงสวิงของคุณนั่นถูกหรือผิด หากฟอร์มผิดแล้วไม่มีโปรฯ คอยแก้ให้ วงสวิงของคุณก็จะผิดไปตลอด แต่ถ้าคุณเริ่มต้นอย่างถูกวิธี – ยอมเสียเงินจ้างโปรฯ กอล์ฟเพื่อเรียนรู้วงสวิงที่ถูกต้อง คุณก็จะได้วงสวิงที่ถูกต้องนั้นไปตลอดการตีกอล์ฟของคุณ การปั่นจักรยานก็เช่นกัน หากคุณเริ่มปั่นจักรยานโดยที่ท่าปั่นผิด แต่ยังทนปั่นต่อไป ฟอร์มในการปั่นของคุณอาจจะดี แต่ก็ไม่สามารถเรียกประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้ แต่ถ้าคุณลงทุนกับการทำ Bike Fitting เพื่อให้ได้ท่าปั่นจักรยานที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มปั่น คุณก็จะได้ท่าปั่นที่ดี มีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาต่อยอดประสิทธิภาพได้หากต้องการ 2. รู้ Limit ของร่างกายตัวเอง เพื่อที่จะไม่ฝืนจนเกินไป […]

เลือกเบาะอย่างไรให้เข้ากับ(ก้น)คุณ? – ตอนที่ 5 : องศาเบาะที่เปลี่ยนไป ส่งผลอย่างไรกับคุณ?

การปรับตั้งเบาะจักรยาน นอกจากความสูง ความกว้าง และ ความโค้งแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความสบายในการนั่งก็คือ องศาเบาะ เรามักจะเห็นการตั้งองศาเบาะจักรยานในมุมแบบนี้ แต่ในบางครั้ง ก็เห็นอะไรแบบนี้… หรืออาจจะแบบนี้… แต่เชื่อหรือไม่? การปรับองศาเบาะจักรยานเพียงเล็กน้อยสามารถสร้าง Feeling ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงได้   องศาเบาะ ส่งผลอย่างไร? องศาเบาะ เป็นตัวกำหนดมุมของน้ำหนักที่กดลงบน Sit Bone ของผู้ปั่น องศาปกติ การเซ็ตองศาเบาะจะเซ็ตให้มีระนาบขนานกับพื้นที่สุด เพื่อให้ Sit Bone กดลงบนเบาะ โดยทำมุมตั้งฉากกับเบาะเพื่อให้ความมั่นคงในการนั่ง ปรับเอนไปด้านหน้า: ถ้าองศาเบาะ “เทไปด้านหน้า”  จะทำให้กระดูกเชิงกรานของผู้ปั่นเอนไปด้านหน้าด้วย แรงกดบริเวณเป้าลดลง นั่งสบายมากขึ้น แต่ถ้าตำแหน่งนั่งไหลไปด้านหน้า ก็ทำให้เกิดแรงกดที่เป้าได้เหมือนกัน น้ำหนักเทไปที่มือมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการเมื่อยมือ มือชาได้เร็วกว่าปกติ พบได้ในกรณี: นักปั่นที่ต้องการประสิทธิภาพจากท่านั่งลู่ลม เพราะการปรับเบาะเอนหน้า จะทำให้หลังของผู้ปั่นเอนไปด้านหน้าตาม พอก้มมากขึ้น พื้นที่ปะทะลมก็ลดน้อยลง แอโร่มากขึ้น   ปรับเอนไปด้านหลัง:   ถ้าองศาเบาะ “เทไปด้านหลัง”  กระดูกเชิงกรานของผู้ปั่นจะเอนไปด้านหลัง  แรงกดบริเวณเป้ามากขึ้นลง […]

Review CAAD13 – แมวตัวที่ 13 จากค่าย Cannondale

“Lucky Number 13” CAAD13 : เฟรมอลูมิเนียมรุ่นที่ 13 จาก Cannondale หลายๆ คนที่มองผ่านๆ อาจจะมีคำถามว่า “นี้คือเฟรม CAAD หรอ?” เพราะด้วยรูปทรงที่เปลี่ยนไปจากเดิมพอสมควร ถ้าไม่ได้สังเกตว่ามีโลโก้ Cannondale ติดอยู่ก็แทบจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าเป็นเฟรม CAAD แต่…. แม้หลายๆ อย่างจะเปลี่ยนไป แต่ “สุดยอดเฟรมอลูมิเนียม” ยังคงความสุดยอดไว้อย่างครบถ้วน แถมยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมที่ช่วยให้เฟรมอลูมิเนียมกลับมาเป็นตัวเลือกของนักปั่นให้ได้ปวดหัวกันอีกเช่นเคย   CAAD13 มีอะไรใหม่? มาในปี 2020 นี้ Cannondale ได้แหวกกฎการออกแบบเฟรม CAAD ด้วยการออกแบบใหม่ในหลายๆ อย่าง Frame Geometry ที่เปลี่ยนไป(ในทางที่ดีขึ้น) Stiff เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือความสบายที่มากขึ้น ด้วยมุมท่อ Seat Stay ที่เลื่อนจุดเชื่อมลงมาต่ำกว่าท่อนอน ผสานรวมกับเทคโนโลยี SAVE ทำให้ช่วยซับแรงสะเทือนได้ดีขึ้นกว่าเดิม และยังคงความ Stiff ที่ดีเยี่ยมไว้เช่นเดิม Downtube […]

เลือกเบาะอย่างไรให้เข้ากับ(ก้น)คุณ? – ตอนที่ 4 : Flat vs Curved

คราวที่แล้วเราได้พูดถึงวิธีการเลือกเบาะโดยวัดจากความกว้างของ Sit Bone ทุกท่านอาจจะสังเกตได้ว่า “เบาะที่มีความกว้างเท่ากัน อาจจะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน” วันนี้เราจะมาพูดถึงรูปทรงของเบาะและความเหมาะสมในการใช้งานกัน รูปทรงเบาะจักรยาน : Flat vs Curved ผู้ผลิตเบาะจักรยานแต่ละเจ้าต่างก็มีแนวคิดในการออกแบบที่แตกต่างกัน ทำให้เบาะจักรยานในตลาดมีรูปร่างไม่ซ้ำแบบ แต่ก็สามารถจำแนกกลุ่มได้คร่าวๆ เป็น 2 แบบ เบาะ Flat มีลักษณะแบนราบ ตั้งแต่หัวเบาะยันท้ายเบาะ เบาะ Curve มีลักษณะโค้งที่บริเวณกลางหรือท้ายเบาะ ความโค้งมีได้หลายแบบ (โค้งมาก โค้งน้อย)   แล้วเราเหมาะกับเบาะแบบไหนหละ? เบาะ Flat เหมาะกับ: ผู้ปั่นที่ชอบเปลี่ยนตำแหน่งนั่งบนเบาะ เพราะสามารถขยับปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั่งบนเบาะได้หลากหลายตามความถนัด (ขยับตำแหน่งนั่ง หน้า/หลัง) ผู้ปั่นที่มีความยืดหยุ่นดี สามารถปรับท่านั่งเพื่อรองรับพื้นที่นั่งส่วนที่แคบของเบาะได้   ผู้ปั่นที่มีความยืดหยุ่นดี เมื่อก้มตัวไปด้านหน้า กระดูกเชิงกรานจะยังตั้งขึ้นตรง ไม่เอนไปด้านหน้า ทำให้ Sit Bone ตั้งอยู่กับที่ (ภาพจาก www.fizik.com)   เบาะ Curved เหมาะกับ: ผู้ปั่นที่ต้องการ […]

เลือกเบาะอย่างไรให้เข้ากับ(ก้น)คุณ? – ตอนที่ 3 : ทำความรู้จักร่างกายตัวเองกันก่อน

ในตอนที่แล้ว เราได้ทำความรู้จักกับวัสดุของเบาะจักรยาน คราวนี้เราจะมาพูดถึงส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับเบาะจักรยาน นั่นก็คือ Sit Bone Sit Bones คืออะไร?  Sit Bones คือกระดูกส่วนที่รับน้ำหนักเวลาเรานั่ง ไม่ว่าจะบนเก้าอี้หรือเบาะจักรยาน ถ้ายังไม่รู้ว่าคือตรงไหน ให้สังเกตเวลาที่เรานั่งเก้าอี้หลังตรง เราจะรู้สึกว่ามีแรงกดที่สองจุดใต้ก้นเรา นั่นแหละคือ Sit Bones ของเรา   Sit Bones สำคัญอย่างไรกับการเลือกเบาะจักรยาน? “เลือกเบาะผิด ชีวิตเปลี่ยน…” โดยส่วนใหญ่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มปั่นจักรยานแบบจริงจังแล้ว มักจะเกิดอาการเจ็บก้น เป้าชา บางคนอาจจะเกิดอาการหลังจากปั่นได้ไม่กี่นาที บางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายก้นตั้งแต่เริ่มนั่งบนเบาะ เหตุผลหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ “การเลือกใช้เบาะที่มีความกว้างไม่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น”   [ภาพจาก SQLab] เบาะที่แคบเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดที่บริเวณฝีเย็บ (กลางเป้า) เบาะที่กว้างพอดีจะทำให้แรงกดลงเฉพาะบริเวณ Sit Bones ส่งผลให้อวัยวะส่วนอื่นไม่ถูกกดทับจนเกิดอาการ “เป้าชา”   แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Sit Bones เรากว้างเท่าไหร่? เรามีวิธีวัดความกว้าง Sit Bones แบบง่ายๆ มาฝาก อุปกรณ์ที่ต้องใช้ เก้าอี้ […]

เลือกเบาะอย่างไรให้เข้ากับ(ก้น)คุณ? – ตอนที่ 2: ชำแหละส่วนประกอบเบาะจักรยาน

ในตอนที่แล้ว เราได้อธิบายถึงประเภทและการใช้งานเบาะจักรยาน คราวนี้เราจะมาเล่าให้ฟังถึงอีกปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกเบาะ นั่นคือ “วัสดุ” ของเบาะจักรยาน แต่ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับเบาะจักรยานแบบคร่าวๆ กันก่อน เบาะจักรยาน ประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆ นั่นคือ ผิวเบาะ (Padding) – เป็นส่วนที่สัมผัส (Contact Point) ระหว่างจักรยานและผู้ปั่น ฐานเบาะ (Shell) – เป็นส่วนที่รองรับเบาะและต่อกับรางเบาะ รางเบาะ (Rail) – มีหน้าที่ยึดตัวเบาะกับหลักอาน   วัสดุเบาะจักรยาน วัสดุที่นำมาสร้างส่วนประกอบเหล่านี้สามารถบอกคุณได้คร่าวๆ ว่า เบาะจักรยานนั้นๆ เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ผิวเบาะ ตัวอย่างวัสดุผิวเบาะ ผ้า, ยาง, วัสดุ Lycra, หนังแท้/หนังเทียม วัสดุที่จะนำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ผิวสัมผัสที่ได้ก็จะแตกต่างตามวัสดุที่นำมาใช้ ผิวเรียบ/เงา – เหมาะสำหรับการขี่ที่ต้องมีการลุกยืนสลับนั่งบ่อย เพื่อให้ขยับตัวได้ง่าย ลดการเสียดสีระหว่างกางเกงกับเบาะ ผิวด้าน -ให้การยึดเกาะที่ดี ให้ความรู้สึกการนั่งที่มั่นคง วัสดุรองเบา เบาะจะ “หนานุ่ม” หรือ “บางแข็ง” ขึ้นอยู่กับ […]

เลือกเบาะอย่างไรให้เข้ากับ(ก้น)คุณ – ตอนที่ 1 : ประเภทของเบาะจักรยาน

คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้หรือไม่? 💢 ซื้อเบาะใหม่มา รูปทรงถูกใจ สีโดนใจ เข้ากันกับเฟรม….“แต่ดันนั่งแล้วปวดก้น อึดอัด ไม่สบาย” 💢 ยังมีแรงปั่นอยู่ แต่เจ็บก้น ไม่อยากปั่นต่อแล้ว  💢 ปั่นจักรยานมาตั้งนาน ยังหาเบาะที่เข้ากับตัวเองไม่ได้ซักที เพราะ “เบาะ” เป็นหนึ่งในสามจุดสัมผัส (Contact Point) ระหว่างผู้ขี่และจักรยาน เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสผู้ขี่มากที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้เบาะที่เหมาะสมย่อมมีความสำคัญมากกกกก (ก.ไก่ล้านตัว)     แต่ก่อนที่ตัดสินใจเลือกซื้อเบาะมาใช้ซักใบ เรามาทำความเข้าใจกับสองปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงนั่นคือ “ประเภทของเบาะจักรยาน” และ “ประเภทการใช้งาน”     ประเภทของเบาะจักรยาน เบาะแข่งขัน – เบาะแบบเน้นประสิทธิภาพ ด้วยธรรมชาติของการแข่งขันที่ผู้ขี่จะต้องมีการลุกยืน Sprint สลับกับการนั่ง การเสียดสีกับเบาะจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้   ท่ายืนปั่นเพื่อประสิทธิภาพ (เหล่า Pro Rider ผ่านการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี)   เบาะแข่งขันส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบมาให้แคบ และมีวัสดุ padding ที่บาง เพื่อให้ผู้ปั่นสามารถขยับตัวบนเบาะได้โดยไม่เกิดการเสียดสีมากเกินไป พอผู้ขี่รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ก็สามารถออกแรงได้อย่างมั่นใจ […]

รีวิวจากการใช้งานจริง Bryton Aero 60

Bryton รุ่นล่าสุด Aero 60 หลังจากได้ลองใช้ ไมล์จักรยาน Bryton รุ่นล่าสุด Aero 60 มานิดหน่อย จะมาเล่าให้ฟังกันนิดนึงเริ่มตั่งแต่แกะกล่องกันเลย ในกล่อง นอกเหนือจากตัวเครื่องแล้ว ก็มีอุปกรณ์มาให้แบบครบถ้วน ขาจับไมล์แบบใหม่ Aero mount สายคล้อง ประแจหกเหลี่ยม คู่มือที่มีภาษาไทยด้วยเซนเซอร์ วัดความเร็ว วัดรอบขา วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ทั้งสามตัวเป็นเซนเซอร์แบบใหม่ ส่งสัญญานได้ทั้งระบบ Ant+ และ BLE Smart เริ่มต้นด้วยรูปลักษณ์ ตัวเครื่อง Aero 60 เทียบกับ 520 จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อยแบนกว่า ส่วนหน้าจอมีขนาดเท่ากัน ภายนอก ตัวเครื่องออกแบบมาได้ดีดูแน่นหนา มีปุ่มรอบเครื่องอยู่เจ็ดปุ่มมีสัญลักษณ์แยกตามหน้าที่ค่อนข้างชัดเจน ด้านหลังออกแบบผิวมาแบบคล้ายๆลูก กอล์ฟ อย่างเค้าว่าๆช่วยลดแรงต้านจากอากาศทำให้แอร์โร่ว่างั้น ด้านล่างก็มีช่องสำหรับชาร์ตแบตฯ ซึ่งพอติดเข้ากับขาไมล์แล้วก็จะโดนปิดไป แต่ก็จะเรียบลื่น ช่วยการไหลของอากาศดีขึ้น พูดถึงสเปคแบตฯ ก็สบายๆสามารถใช้ยาวๆได้ถึง 32 ชม.ด้วยกัน เรียกว่าไป audax 300 […]

รีวิว zipp 302 ล้อ hi-end ในราคาเอื้อมถึง

ปีนี้ Zipp ได้ออกล้อซีรี่ย์ใหม่ ที่สร้างความฮือฮาในวงการจักรยานได้พอสมควร เพราะ Zipp ล้อคาร์บอนในระดับราคากลางๆ แบบนี้มาก่อน ทำให้นักปั่นหลายคน มีเฮ! ได้มีโอกาสใช้ล้อคุณภาพระดับ Hi-End ในราคาตัดสินใจง่ายขึ้น ลองมาดูกันครับ ว่า Zipp 302 ตัวนี้ จะมีความน่าสนใจ น่าจับจองยังไงบ้าง ด้วยเทคโนโลยีของ Zipp ที่อยู่ในล้อ 302ตัวใหม่ กับขอบคาร์บอน 45 มม.ที่ทำใน อินเดียแนโพลิส เช่นเดียวกันกับรุ่นพี่ๆ ด้วยขอบล้อขนาดพอเหมาะไม่สูงไม่ต่ำ ทำให้การขับขี่ผ่านกระแสลมเป็นไปได้อย่างราบรื่น และการควบคุมที่แม่นยำในทุกสภาพการขับขี่ zipp 302 ทั้งรุ่นที่เป็น ริมเบรค และ ดิสเบรคแบบ Centerlock จะใช้ขอบคาร์บอนแบบเรียบ ลวดลายบนตัวล้อเป็นเนื้อ ud แบบเงา ไม่มีลอยบุ๋มแบบผิวลูกกอล์ฟ แต่ด้วย วัสดุ เทคโนโลยี และ วิศวกรรม ของ zipp ที่ให้ความแม่นยำจากการควบคุมกระบวนการผลิตที่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และแบบเดียวกับที่ใช้กับล้อ คาร์บอน ทั้งหมดของ […]