ในตอนที่แล้ว เราได้อธิบายถึงประเภทและการใช้งานเบาะจักรยาน

คราวนี้เราจะมาเล่าให้ฟังถึงอีกปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกเบาะ นั่นคือ “วัสดุ” ของเบาะจักรยาน

แต่ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับเบาะจักรยานแบบคร่าวๆ กันก่อน

เบาะจักรยาน ประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆ นั่นคือ

  1. ผิวเบาะ (Padding) – เป็นส่วนที่สัมผัส (Contact Point) ระหว่างจักรยานและผู้ปั่น
  2. ฐานเบาะ (Shell) – เป็นส่วนที่รองรับเบาะและต่อกับรางเบาะ
  3. รางเบาะ (Rail) – มีหน้าที่ยึดตัวเบาะกับหลักอาน

 

วัสดุเบาะจักรยาน

วัสดุที่นำมาสร้างส่วนประกอบเหล่านี้สามารถบอกคุณได้คร่าวๆ ว่า เบาะจักรยานนั้นๆ เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

  • ผิวเบาะ
    • ตัวอย่างวัสดุผิวเบาะ
      • ผ้า, ยาง, วัสดุ Lycra, หนังแท้/หนังเทียม
    • วัสดุที่จะนำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ผิวสัมผัสที่ได้ก็จะแตกต่างตามวัสดุที่นำมาใช้
      • ผิวเรียบ/เงา – เหมาะสำหรับการขี่ที่ต้องมีการลุกยืนสลับนั่งบ่อย เพื่อให้ขยับตัวได้ง่าย ลดการเสียดสีระหว่างกางเกงกับเบาะ
      • ผิวด้าน -ให้การยึดเกาะที่ดี ให้ความรู้สึกการนั่งที่มั่นคง
  • วัสดุรองเบา
    • เบาะจะ “หนานุ่ม” หรือ “บางแข็ง” ขึ้นอยู่กับ ประเภท และ ปริมาณวัสดุ รองเบาะเป็นหลัก
    • ตัวเลือกวัสดุรองเบาะจะส่งผลถึงน้ำหนักของเบาะด้วย
           
    • ตัวอย่างวัสดุรองเบาะ
      • โฟม EVA, แผ่นเจล
  • ฐานเบาะ
    • โดยหลักแล้วผู้ผลิตเบาะจะเลือกใช้วัสดุรองเบาะโดยคำนึงถึงประเภทการใช้งานว่า เน้นความสบาย หรือ ประสิทธิภาพ
    •  ตัวอย่างวัสดุฐานเบาะ
      • ไนล่อน – ยืดหยุ่นได้ดี ราคาไม่แพง
      • คาร์บอนไฟเบอร์ – น้ำหนักเบา Stiff ราคาสูง
      • หนัง – พบได้ในเบาะจักรยานแบบ Vintage, Touring
  • รางเบาะ
    • มีหน้าที่ ยึดเบาะกับหลักอาน และ รับแรงสะเทือนจากหลักอาน 
    • วัสดุที่นิยมใช้
      • เหล็ก – แข็งแรง ราคาถูก น้ำหนักค่อนข้างเยอะ
      • Cro-mo – รองรับน้ำหนักได้ดี ยืดหยุ่นสูง
      • ไทเทเนียม – คุณสมบัติใกล้เคียง Chromoly แต่น้ำหนักเบากว่า Stiff กว่า
      • คาร์บอนไฟเบอร์ – น้ำหนักเบา Stiff ราคาค่อนข้างสูง

ทำไมต้องสนว่าเบาะใช้วัสดุอะไร?

  • ความเหมาะสมกับการใช้งาน
    • เบาะที่ใช้วัสดุเบา อาจมีประโยชน์ในสถานการณ์ที่ต้องการประสิทธิภาพ เช่น หากคุณอยู่ในการแข่งขันจักรยานที่วัดแพ้ชนะกันด้วยเวลาเสี้ยววินาที คุณคงไม่อยากเพิ่มน้ำหนักให้จักรยานตัวเองด้วยเบาะที่น้ำหนักเยอะหรอก (จริงไหม?)
    • วัสดุอย่างคาร์บอนไฟเบอร์ อาจจะมีน้ำหนักเบา Stiff แต่ ถ้านำไปใช้งานกับทางวิบาก ถนนขรุขระ ก็อาจสร้างความไม่สบายได้มากกว่าวัสดุอื่นๆ
    • ผ้าเบาะ และ วัสดุรองเบาะบางชนิด มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ อาจจะต้องระวังเวลาขี่ลุยฝน เพราะอาจส่งผลต่ออายุการใช้งานได้
  • ราคา
    • เบาะที่มีราคาแพงมักจะมากับการออกแบบที่สวยงาม วัสดุและโครงสร้างที่แข็งแรง มีมาตรฐานการผลิตที่ดี มีต้นทุนในการทำงานวิจัยมาเป็นอย่างดีและที่สำคัญคือ “น้ำหนักเบา”
    • แต่ไม่ใช่ว่าเบาะราคาถูกจะไม่มีข้อดี เพราะเบาะรางเหล็ก Padding หนา ที่ว่าหนัก แต่ก็อาจจะมีคุณสมบัติซับแรงสั่นสะเทือนที่ดีเช่นกัน เพียงแค่ว่าคุณให้ความสำคัญกับรูปทรง, สีสัน, การออกแบบ, หรือ น้ำหนัก มากแค่ไหน

 

“เบาะที่เหมาะสมหรือถูกใจ อาจจะไม่ได้เบาหรือมีราคาแพงก็เป็นได้”

ในตอนต่อไป เราจะมาพูดถึงตัวชี้วัดความสบายของผู้ขี่อีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ รูปร่างของเบาะและความเข้ากันของเบาะกับสรีระของผู้ขี่

#letsbikebygoro